วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เขาตังกวน


เขาตังกวน จังหวัดสงขลา
                  
                     เขาตังกวน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในอ.เมือง จ.สงขลา    เป็นเนินเขาสูง จากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต จากยอดเขาตังกวนนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาได้โดยรอบ บนยอดเขาตังกวนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์พระธาตุคู่เมือง สงขลาซึ่งสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี(อยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต ) โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ได้พระราชทานเงินหลวงให้เป็นทุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์ และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (ร.9) ได้ทรงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุให้มาบรรจุในองค์พระเจดีย์ ใน ทุกๆ ปีในเดือนตุลาคม จะมีงานพิธีห่มผ้าองค์พระเจดีย์ และประเพณีตักบาตรเทโวและลากพระของสงขลา

         สิ่งที่น่าสนใจบนยอดเขาตังกวน
  •    เจดีย์พระธาตุ

                      พระเจดีย์หลวง พระเจดีย์หลวงเป็นอีกหนึ่งในโบราณสถานที่สำคัญของเขาตังกวน พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆัง สันนิษฐานว่าเป็น พระเจดีย์โบราณที่มีมานาน แต่ไม่ปรากฎหลักฐานความเป็นมาที่ชัดเจน จนต่อมาในปี พ.ศ.2402 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองสงขลา หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2409 จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินหลวง 37 ชั่ง ให้เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ให้สูงใหญ่กว่าของเก่า และในครั้งนั้น เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น)ได้ สร้างคฤห์ไว้ที่ฐานพระเจดีย์ และต่อเติมเก๋งที่มุมกำแพง พระเจดีย์หลวงเป็นพระเจดีย์คู่บ้านคู่เมือง ของสงขลาจึงมีการบูรณะซ่อม แซมมาโดยตลอด ในปีพ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าพระราชทาน พระบรมสารีริกธาตุ และเครื่องสักการะบูชาประดิษฐานไว้ ณ พระเจดีย์หลวง เพื่อไว้เป็นที่สักการะบูชาของชาวเมืองสงขลาสืบต่อไป


  • ประภาคาร

                  ประภาคาร เป็นอาคารที่สำคัญอย่างหนึ่งของเขาตังกวนสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2439 ครั้งพระยาวิเชียรคีรี (ชม) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา โดยสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้โปรดให้ กรมทหารเรือทำเครื่องหมายประดับประกอบตัวโคมและส่งแบบฐานปูนให้ข้าหลวงออกมาจัดการก่อสร้างประภาคาร ตามพระราช ดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในบริเวณที่พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) และพระยาชลยุทธโยธินเป็นผู้ เลือกสถานที่ ประภาคารนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2440

  • ศาลาพระวิหารแดง

                     ศาลาพระวิหารแดง จากลานพระเจดีย์หลวงมีทางเดินลงบันไดมายังศาลาพระวิหารแดง  ประวัติการก่อสร้างศาลาพระวิหารแดง พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้สร้างพลับพลาที่ประทับนี้แต่ยังคงสร้างค้างอยู่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสแหลมมลายูถึงเมืองสงขลา พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นนมัสการพระเจดีย์บนยอดเขาตังกวน มีพระราชศรัทธาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลาพระวิหารจนสำเร็จในเวลาต่อมา แล้วยังทรงพระราชดำริให้สร้างบันไดนาคขึ้นจาก พลับพลา สำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. 2440 วิวสวยหน้าศาลาพระวิหารแดง พลับพลาที่สร้างขึ้นตั้งแต่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หันหน้าพลับพลาไปด้านเชิงเขาด้านหนึ่งของเขาตังกวน เป็นบริเวณที่วิวเปิดเห็นทิวทัศน์ได้ไกล และสวยงามมากภายในศาลาพระวิหารแดง ลักษณะการก่อสร้างภายใน เป็นเสามีช่องทางเดินทะลุถึงกันแต่ละช่องมีขนาดเท่ากัน และเป็นแบบเดียวกันทั้งหมดอย่างที่เห็นในภาพนี้เลยครับมองจากด้านหน้า จะทะลุไปจนถึงด้านหลัง มองจากด้านข้างด้านหนึ่งจะ ทะลุไปจนถึงอีกด้านหนึ่ง ช่องทางด้านหน้าและด้านหลัง ช่องทางเดินเข้าออกศาลาพระวิหารแดง คงไม่เรียกว่าประตูเพราะไม่มี ทั้งบานประตูและบานหน้าต่าง ด้านหลังเป็นทางไปบันไดนาคขึ้นยอดเขาตังกวนและพระเจดีย์หลวง ช่องด้านหน้าเป็นทางเดินลงไป เชิงเขาทางบันได

  • ลานชมวิวเขาตังกวน

                      ลานชมวิวเขาตังกวน  จากยอดเขาตังกวนก็จะมองเห็นวิวของเมืองสงขลาได้รอบด้านแบบ 360 องศา มีที่นั่งให้นั่งชมวิว ลานชมวิวแห่งนี้มีรูปหลวงปู่ทวด อยู่กลางลานบนฐานที่ยกสูงขึ้นไป วิวสวยเมืองสงขลา ลานชมวิวหน้าพระเจดีย์หลวงจะมองเห็นตัวเมืองสงขลาได้กว้างไกลมากๆ ทั้ง วิวตัวเมืองและทะเลสาปสงขลา รวมทั้งหาดสมิหลา


  • การเดินทางสู่เขาตังกวน

                        เขาตัวกวนตั้งอยู่ในตัวเมืองสงขลาใกล้กับหาดสมิหลา สามารถนั่งรถโดยสารแดง หรือรถตุ๊ก ตุ๊ก มอเตอร์ไซต์ ที่ให้บริการอยู่ใน ตัวเมือง
           การขึ้นสู่ยอดเขาตังกวน ปัจจุบัน ทำได้  2  วิธี คือ
- ขึ้นลิฟส์โดยสารจากจุดบริการลิฟส์โดยสาย ณ บริเวนถนนตัดระหว่างเขาตังกวนและเขาน้อย ค่าบริการ ผู้ใหญ่คนละ 30 บาท เด็ก  20 บาท โดยเปิดบริการในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น. และ ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
8.00-19.00 น.
-  ขึ้นโดยการเดินขึ้นบันไดฝั่งตรงตะวันตก ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามลิฟส์โดยสาร ตลอดระยะทางมีบันไดหิน สลับกับจุดพักและจุดชมวิว เป็นช่วง ๆ ขอดีคือจะสามารถชมมุมมอง ได้หลายมุม หลายระดับ ณ บริเวณบันไดนาค ถึงวิหารแดงจำนวน  145 ขั้น


แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.paiduaykan.com/province/south/songkhla/tangkouan.html

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติโรงเรียนมหาวชิราวุธ

     ประวัติ

โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในพระอุปถัมภ์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (ชื่อภาษาอังกฤษ: Mahavajiravudh Songkhla School) (อักษรย่อ: ม.ว., M.V.) (สุภาษิตประจำโรงเรียน: รฺกขาม อตฺตโน สาธุ (รัก - ขา - มะ - อัด - ตะ - โน - สา - ทุง) แปลว่า " พึงรักษาความดีของตนไว้ (ประดุจเกลือรักษาความเค็ม) " ) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ รหัสสถานศึกษา 03900101(เดิม) , 1003900101 (ใหม่) มีเนื้อที่ 45 ไร่ 2 งาน 99.9 ตารางวา เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา มีประวัติความเป็นมาและชื่อเสียงเกียรติยศที่สั่งสมมายาวนานกว่า 100 ปี เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกในภาคใต้ โดยมีกุลบุตร - กุลธิดา ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียง มาศึกษาเล่าเรียนกันเป็นจำนวนมาก
                   ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนคือ มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ขณะท่านมีบรรดาศักดิ์เป็น " พระยาสุขุมนัยวินิต " ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จการมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยในเดือนมกราคม พุทธศักราช 2439 ในวาระโอกาสวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เจ้าพระยายมราชได้ขอพระราชทานพระนามของพระองค์ในขณะนั้นมาเป็นนามของโรงเรียน ว่าโรงเรียน "มหาวชิราวุธ" ปัจจุบันเป็นสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ และลูกมหาวชิราวุธทุกคนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ ต่างมีความรักภาคภูมิใจในสถาบัน และภูมิใจใน ตราวชิราวุธ อันเป็นลัญจกรประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์อันเป็นมิ่งมงคลยิ่งของสถาบัน

      
          เกียรติประวัติของโรงเรียน

โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นโรงเรียนหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ กล่าวคือ

·         เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยม "มหาวชิราวุธ" อาคารเรียน 2447 (สัณฐาคาร) ขณะที่ยังใช้เป็นจวนข้าหลวงเทศาภิบาลอยู่
·         วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร "มหาวชิราวุธ" ที่วัดนาถม ขณะที่ประทับแรม ณ พระตำหนักเขาน้อย ทรงทราบจากคำกราบบังคมทูลเรื่องการใช้พระนามาภิไธย เป็นนามโรงเรียน มีพระราชหัตถ์เลขาความว่า "โรงเรียนได้ตั้งมานานปี มีผู้สำเร็จการศึกษาออกไปทำประโยชน์แก่บ้านเมืองมากแล้ว จึงอนุมัติให้คงใช้ชื่อเดิมต่อไป" นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาวมหาวชิราวุธทั้งมวล
·         วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร"มหาวชิราวุธ" ณ อาคาร 2464 เป็นการส่วนพระองค์ทอดพระเนตรการเรียนการสอนทรงปฏิสันถารกับนักเรียนชั้นต่างๆ เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
·         พ.ศ. 2459 - 2468 มีฐานะเป็น "โรงเรียนตัวอย่างมณฑลนครศรีธรรมราชมหาวชิราวุธ"
·         พ.ศ. 2469 - 2476 เป็น "โรงเรียนประจำมณฑลนครศรีธรรมราช มหาวชิราวุธ"
·         พ.ศ. 2525 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ณ โรงเรียนมหาวชิราวุธ
พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดรับโรงเรียนมหาวชิราวุธ ไว้ในพระอุปถัมภ์

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัด สงขลา
MahavajiravudhSongkhaSchool


>>>เมื่อเลือกว่าที่นี่ดีที่สุด  คือมหาวชิราวุธวิรุจค่า
ก้าวมาแล้วจงทำตนพ้นราคา  ประหนึ่งเกลือคงเส้นวารักษาเค็ม<<<


สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

       สุภาษิตประจำโรงเรียน
                   รกฺ ขาม อตฺตโน สาธุº แปลว่า พึงรักษาความดีของตนไว้ประดุจเกลือรักษาความเค็ม

        ปรัชญาประจำโรงเรียน
                    หัวโต มือใหญ่ ใจกว้าง ร่างสมาร์ท
                       1.             หัวโต >>> ให้มีความรู้ความสามารถเหมาะกับอัตภาพ
                     2.             มือใหญ่ >>> ให้สามารถใช้ความรู้ความสามารถประกอบกิจการงานให้ได้ผลอย่างเต็มที่
                     3.             ใจกว้าง >>> ให้มีแนวคิดตามแนวประชาธิปไตย รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                     4.             ร่างสมาร์ท >>> ให้มีพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

          ตราประจำโรงเรียน

                          
                    ตราประจำโรงเรียนเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 มีลักษณะเป็นตราวชิระ ประดับรัศมี 21 แฉก มีอักษรย่อ ม.ว.(มหาวชิราวุธ) ประดับข้างซ้าย-ขวา ด้านล่างปรากฏสุภาษิตประจำโรงเรียนว่า "รกฺขาม อตฺตโน สาธุ"
         
         ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นชะเมา
      เอกลักษณ์ประจำโรงเรียน รัก ศรัทธา "มหาวชิราวุธ"
              อัตลักษณ์ประจำโรงเรียน เคารพครู เชิดชูสถาบัน ผูกพันพี่น้องผองมิตร มีจิตสาธารณะ
แหล่งที่มา : www.mvsk.ac.th